วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แผนจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรเสริมความรู้อาเซียนศึกษา






                                                ตัวอย่างรายละเอียดของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (บางส่วน)
หน่วย  เพื่อนบ้านของไทย (ประเทศลาว)
เรื่อง ชื่อประเทศลาว เมืองหลวง และธงประจำชาติลาว
กิจกรรมเสริมประสบการณ์     ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
วันจันทร์ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  เวลา 09.00-09.30 น.
สาระสำคัญ
ลาวหรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
จุดประสงค์
                1. เด็กสามารถบอกลักษณะของธงประจำชาติลาวได้
                2. เด็กสามารถอ่านชื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้
                3. เด็กสามารถเลือกภาพที่เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศลาวได้
4.  เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
5. เด็กสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ได้
สาระการเรียนรู้
                สาระที่ควรรู้
ลาวหรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคือนครหลวงเวียงจันทน์
ธงประชาติลาวนั้นมี3 สี คือ สีแดง สีน้ำเงินและสีขาว ซึ่งสีขาวนั้นจะเป็นรูปวงกลมสีขาวตรงกลาง
ประสบการณ์สำคัญ
                                ด้านร่างกาย
                          - การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
                        -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่กับการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                              -การเขียนภาพและการเล่นกับสี
                        ด้านอารมณ์และจิตใจ
- สุนทรียภาพ
                                -การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
                        ด้านสังคม
- การเรียนรู้ทางสังคม
                        -การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
                               - การคิด
                                -การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
- การใช้ภาษา
-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
-การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
                        - การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
                        -การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
กิจกรรม
ขั้นนำ
เด็กร่วมกันทายภาพปริศนาที่ครูนำมา โดยให้อาสาสมัครออกมาเปิดชิ้นส่วนทีละ 1 คน พร้อมทั้งเฉลย (ธงประจำชาติลาว)
ขั้นสอน
1. เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของภาพธงประจำชาติลาวที่ครูนำมา โดยครูใช้คำถาม
                        - เด็กๆ เห็นอะไรในภาพบ้าง
                        - เด็กๆ ทราบหรือไม่ว่าเป็นธงของประเทศอะไร
            2. เด็กและครูร่วมกันอ่านชื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมบัตรคำประกอบ
            3. เด็กร่วมกันสังเกตชื่อประเทศลาวที่เป็นภาษาลาวและชื่อประเทศลาวภาษาไทยว่ามีความเหมือนความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมอ่านชื่อพร้อมกัน
            4. อาสาสมัครออกมาเลือกบัตรภาพที่เป็นเมืองหลวงของประเทศลาว
5. แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 6-7 คน ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรม “ประเทศเพื่อบ้านของเรา” โดยคุณครูจะมีบัตรคำคำว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” แล้วให้เด็กช่วยกันเรียงบัตรคำให้ถูกต้องพร้อมทั้งเฉลย ตัวแทนกลุ่มรับอุปกรณ์และเริ่มกิจกรรม

ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาสรุปเกี่ยวกับชื่อประเทศลาว เมืองหลวง และธงประจำชาติลาว
            2. เด็กร่วมกันวาดภาพสรุปความรู้ลงใน C-Book
สื่อ
                1. บัตรภาพธงประจำชาติลาว
            2. บัตรภาพ
            3. บัตรคำชื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเมินผล
สังเกต
1. การบอกลักษณะของธงประจำชาติลาวของเด็ก
                2. การอ่านชื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวของเด็ก
                3. การเลือกภาพที่เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศลาวของเด็ก
4. การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็ก
5. การวาดภาพสรุปลงใน C-Bookของเด็ก

บันทึกหลังการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................




หน่วย  เพื่อนบ้านของไทย (ประเทศลาว)
เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศลาว
กิจกรรมเสริมประสบการณ์     ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
วันอังคารที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  เวลา 09.00-09.30 น.
สาระสำคัญ
            ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทร
อินโดจีนลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว
จุดประสงค์
          1. เด็กสามารถบอกลักษณะภูมิประเทศลาวได้
            2. เด็กสามารถบอกชื่อประเทศเพื่อนบ้านของประเทศลาวได้
3.  เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
4. เด็กสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ได้
สาระการเรียนรู้
                สาระที่ควรรู้
ลักษณะภูมิประเทศประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของ
คาบสมุทรอินโดจีนโดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
-                   ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร)
-                   ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
-                   ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
-                   ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130 กิโลเมตร)
-                   ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ประสบการณ์สำคัญ
                                ด้านร่างกาย
                          - การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
                        -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่กับการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                              -การเขียนภาพและการเล่นกับสี
                        ด้านอารมณ์และจิตใจ
- สุนทรียภาพ
                                -การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
                        ด้านสังคม
- การเรียนรู้ทางสังคม
                        -การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
                               - การคิด
                                -การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
- การใช้ภาษา
-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
-การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
                        - การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
                        -การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
กิจกรรม
ขั้นนำ
เด็กร่วมกันต่อภาพตัดต่อที่ครูนำมา (แผนที่ประเทศลาว) โดยให้อาสาสมัครออกมาต่อชิ้นส่วนครั้งละ 1 คน พร้อมทั้งเฉลย
                ขั้นสอน
                1. เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับภาพปริศนาที่ครูนำมา โดยใช้คำถาม ดังนี้
                        - เด็กๆรู้จักสิ่งที่อยู่ในภาพคือภาพอะไร
            2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศลาว โดยบัตรภาพประกอบ
            3. แบ่งกลุ่มเด็กๆออกเป็น 4 กลุ่ม โดยวิธีการจับฉลากสีและร่วมกันสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรม “เพื่อนบ้านของลาว” โดยคุณครูจะมีแผนที่ประเทศลาวและบัตรคำชื่อประเทศรอบๆของประเทศลาว แล้วให้เด็กๆช่วยกันวางบัตรคำชื่อประเทศต่างๆให้ถูกต้อง
4. ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับอุปกรณ์และเริ่มทำกิจกรรม ครูคอยตรวจสอบความถูกต้อง
5. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาสรุปเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศประเทศลาว
2. เด็กร่วมกันวาดภาพสรุปความรู้ลงใน C-Book
สื่อ
1. ภาพตัดต่อแผนที่ประเทศลาว
            2. บัตรภาพแผนที่ประเทศลาว
            3. บัตรคำชื่อประเทศจีน , ประเทศไทย , ประเทศกัมพูชา , ประเทศเวียดนาม, ประเทศพม่า
ประเมินผล
สังเกต
          1. การบอกลักษณะภูมิประเทศลาวของเด็ก
            2. การบอกชื่อประเทศเพื่อนบ้านของประเทศลาวของเด็ก
3. การสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็ก
4. การสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ของเด็ก
บันทึกผลหลังสอน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………







หน่วย  เพื่อนบ้านของไทย (ประเทศลาว)
เรื่อง การแต่งกายและเงิน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์     ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
วันพุธที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  เวลา 09.00-09.30 น.
สาระสำคัญ
          ผู้หญิงลาวจะต้องนุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อแบบสุภาพ ส่วนผู้ชายลาวก็ต้องนุ่งกางเกงขายาวเสื้อแบบสุภาพและเงินสกุลเงินหลักของลาวคือกีบลักษณะจะเป็นธนบัตรทั้งหมด  
จุดประสงค์
          1. เด็กสามารถบอกลักษณะการแต่งกายแบบชาวลาวได้
            2. เด็กสามารถเลือกเครื่องแต่งกายแบบชาวลาวได้
            3. เด็กสามารถบอกลักษณะเงินและค่าของเงินของประเทศลาวได้
            4. เด็กสามารถตัดภาพตัดต่อสกุนเงินประเทศลาวได้
5.  เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
6. เด็กสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ได้
สาระการเรียนรู้
                สาระที่ควรรู้
เครื่องแต่งกาย ชาวลาวยังเคร่งครัดในวัฒนธรรมอันดีงามของการแต่งกาย โดยเฉพาะเมื่อจะเข้าไปในเขตวัดหรือสถานที่ราชการ ผู้หญิงลาวจะต้องนุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อแบบสุภาพ ส่วนผู้ชายลาวก็ต้องนุ่งกางเกงขายาวเสื้อแบบสุภาพเช่นกัน เครื่องแบบนักเรียน-นักศึกษาและข้าราชการของผู้หญิงจะนุ่งเป็นผ้าซิ่นทั้งหมด เมื่อก่อนนี้ยังมีกฏ-ระเบียบห้ามผู้หญิงย้อมผมเป็นสีต่างๆ แต่ในปัจจุบันกฎที่ว่าค่อนข้างจะผ่อนผันไปมากแล้ว 
ระบบการเงินและการธนาคาร สกุลเงินหลักของลาวคือกีบลักษณะจะเป็นธนบัตรทั้งหมด ปัจจุบันธนบัตรเงินกีบจะมีตั้งแต่ฉบับราคา 500 กีบ -50,000 กีบ  ไม่มีเงินเหรียญกษาปณ์
ประสบการณ์สำคัญ
                                ด้านร่างกาย
                          - การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
                        -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่กับการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                              -การเขียนภาพและการเล่นกับสี
                        ด้านอารมณ์และจิตใจ
- สุนทรียภาพ
                                -การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
                        ด้านสังคม
- การเรียนรู้ทางสังคม
                        -การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
                               - การคิด
                                -การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
- การใช้ภาษา
-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
-การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
                        - การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
                        -การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
กิจกรรม
ขั้นนำ
เด็กร่วมกันทายสิ่งที่อยู่ในกล่องปริศนา โดยให้เด็กออกมาสัมผัสของที่อยู่ในกล่องปริศนาครั้งละ 1 คน และบอกเพื่อนๆว่ามีลักษณะอย่างไร หลังจากนั้นให้เด็กร่วมกันทายว่าสิ่งของนั้นคืออะไรพร้อมทั้งเฉลย (ผ้าซิ่น)
ขั้นสอน
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผ้าซิ่น โดยใช้คำถาม ดังนี้
                        - สิ่งนี้คืออะไร
                        - เด็กๆ คิดว่ามีความสำคัญอย่างไรกับประเทศลาว
            2. เด็กและครูร่วมกันสังเกตและสนทนาเกี่ยวกับการแต่งกายประเทศลาว โดยใช้ของจริง
            3. อาสาสมัครออกมาเลือกเครื่องแต่งกายแบบชาวลาว
            4. เด็กและครูร่วมกันสังเกตธนบัตรของประเทศลาวและบอกค่าของจำนวนเงินในธนบัตรแต่ละชนิด
5.แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 6-7 คน โดยใช้การจับไม้สีและร่วมกันสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรมโดยกิจกรรมโดยคุณครูจะแจกภาพตัดต่อให้กับเด็กๆ ในการทำกิจกรรมนี้ให้เด็กๆ ภาพตัดต่อภาพเงินตราของประเทศลาวให้ถูกต้อง
6. ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับอุปกรณ์และเริ่มทำกิจกรรม ครูคอยตรวจสอบความถูกต้อง
น.ส.วาสนา ดีผดุง รหัส 06510129 เลขที่ 21
วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
 
               
7. ให้เด็กออกมานำเสนอภาพตัดต่อที่ต่อเรียบร้อย
ขั้นสรุป
          1. เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแต่งกายและเงินตราของประเทศลาว
            2. เด็กร่วมกันวาดภาพสรุปความรู้ลงใน C-Book
สื่อ
          1. ผ้าถุง
2. ภาพตัดต่อเงินตราของประเทศลาว
การประเมินผล
          การสังเกต
          1. การบอกลักษณะการแต่งกายแบบชาวลาวของเด็ก
            2. การเลือกเครื่องแต่งกายแบบชาวลาวของเด็ก
            3. การบอกลักษณะเงินและค่าของเงินของประเทศลาวของเด็ก
            4. การตัดภาพตัดต่อสกุนเงินประเทศลาวของเด็ก
5. การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็ก
6. การวาดภาพสรุปลงใน C-Book ของเด็ก
บันทึกหลังการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วย  เพื่อนบ้านของไทย (ประเทศลาว)
เรื่อง ศาสนา
กิจกรรมเสริมประสบการณ์     ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
วันพฤหัสบดีที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  เวลา 09.00-09.30 น.
สาระสำคัญ
          ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ
จุดประสงค์
          1. เด็กสามารถบอกศาสนาประจำชาติลาวได้
            2. เด็กสามารถแสดงบทบาทสมมติการตักบาตรข้าวเหนียวได้
            3. เด็กสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ได้
4. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
สาระการเรียนรู้
                สาระที่ควรรู้
พระธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในประเทศ ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์
ประสบการณ์สำคัญ
                                ด้านร่างกาย
                          - การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
                        -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่กับการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                              -การเขียนภาพและการเล่นกับสี
                        ด้านอารมณ์และจิตใจ
- สุนทรียภาพ
                                -การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
                        ด้านสังคม
- การเรียนรู้ทางสังคม
                        -การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
                               - การคิด
                                -การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
- การใช้ภาษา
-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
-การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
                        - การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
                        -การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
กิจกรรม
          ขั้นนำ
เด็กร่วมกันทายสิ่งที่อยู่ในกล่องปริศนา โดยการดม (พวงมาลัย)
ขั้นสอน
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพวงมาลัย  โดยใช้คำถามดังนี้
            - เด็กๆ รู้จักสิ่งของนี้หรือไม่
            - เด็กๆ ทราบหรือไม่ว่าพวงมาลัยนี้สามารถนำไปทำอะไรได้ที่เกี่ยวกับศาสนา
2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับศาสนาของประเทศลาว พร้อมบัตรภาพประกอบ
3. ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรมบทบาทสมมติ โดยให้เด็กๆ เล่นบทบาทสมมติในกิจกรรม “การทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว” โดยให้อาสาสมัคร 4 คนเป็นพระและให้เด็กๆที่เหลือนำข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในบาตรจำลองปฏิบัติกิจกรรมให้ครบทุกคน
ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาสรุปเกี่ยวกับศาสนาของประเทศลาว
            2.เด็กร่วมกันวาดภาพสรุปความรู้ลงใน C-Book
สื่อ
          1. พวงมาลัย
2. บัตรภาพวัดในประเทศลาว
3. บาตรพระจำลอง
4. ข้าวเหนียว
การประเมินผล
          การสังเกต
1. การบอกศาสนาประจำชาติลาวของเด็ก
            2. การแสดงบทบาทสมมติการตักบาตรข้าวเหนียวของเด็ก
3. การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็ก
4. การวาดภาพสรุปลงใน C-Book ของเด็ก
บันทึกหลังการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................






           




                                  หน่วย       เพื่อนบ้านของไทย (ประเทศลาว)
เรื่อง อาหาร
กิจกรรมเสริมประสบการณ์     ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
วันศุกร์ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  เวลา 09.00-09.30 น.
สาระสำคัญ
อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ เป็นต้น
จุดประสงค์
          1. เด็กสามารถบอกลักษณะอาหารของประเทศลาว
            2. เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมส้มตำหรรษาได้
            3. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
4.  เด็กสามารถวาดภาพสรุปลงใน C-Book ได้
สาระการเรียนรู้
                สาระที่ควรรู้
อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ เป็นต้น
ประสบการณ์สำคัญ
                                ด้านร่างกาย
                          - การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
                        -การเคลื่อนไหวอยู่กับที่กับการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
                              -การเขียนภาพและการเล่นกับสี
                        ด้านอารมณ์และจิตใจ
- สุนทรียภาพ
                                -การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
                        ด้านสังคม
- การเรียนรู้ทางสังคม
                        -การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
                               - การคิด
                                -การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
- การใช้ภาษา
-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
-การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
                        - การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
                        -การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
กิจกรรม
          ขั้นนำ
อาสาสมัครออกมาทายอาหารปริศนา โดยครูใช้ผ้าปิดตาเด็กไว้แล้วชิมอาหาร จากนั้นเด็กทายว่าคือ
อาหารอะไร (เฉลย ข้าวเหนียว)
ขั้นสอน
1. เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับอาหารปริศนา โดยใช้คำถามต่อไปนี้
            - อาหารที่เด็กๆชิม คืออาหารอะไร
            - มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศลาว
2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอาหารของประเทศลาว โดยใช้บัตรภาพประกอบ
3.แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 6-7 คน โดยใช้การจับไม้สีและร่วมกันสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรมส้มตำหรรษา โดยกิจกรรมคือครูจะมีอุปกรณ์และเครื่องปรุงในการทำส้มตำแล้วให้เด็กร่วมกันทำส้มตำ
 4. ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับอุปกรณ์และเริ่มทำกิจกรรม ครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
น.ส.วาสนา ดีผดุง รหัส 06510129 เลขที่ 21
วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
 
         
ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับอาหารของประเทศลาว
2. เด็กร่วมกันวาดภาพสรุปความรู้ลงใน C-Book
สื่อ
          1. ข้าวเหนียว
2. บัตรภาพอาหารของประเทศลาว
3. เครื่องปรุง เช่น น้ำปลา น้ำมะนาว มะละกอ ถั่ว กระเทียม มะเขือเทศ
4. ครกขนาดเล็ก จำนวน 4 ครก
การประเมินผล
          การสังเกต
1. การบอกลักษณะอาหารของประเทศลาวของเด็ก
            2. การปฏิบัติกิจกรรมส้มตำหรรษาของเด็ก
3. การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็ก
4. การวาดภาพสรุปลงใน C-Book ของเด็ก
บันทึกหลังการสอน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น